วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญา+การทำโอ่ง

ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมดิน เนื้อดินสีน้ำตาลแดงที่ได้จากท้องนาทั่วไปในจังหวัดราชบุรีเป็นเนื้อดินเหนียวที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีความละเอียดเหนียวเกาะตัวกันได้ดีนำมาหมักไว้ในบ่อดิน แช่น้ำทิ้งไว้ ๑ สัปดาห์เพื่อให้น้ำซึมเข้าในเนื้อดินให้ดินอ่อนตัวทั่วถึงกันและเป็นการทำความสะอาดดินไปในตัวด้วย หลังจากนั้นตักดินขึ้นมากองไว้ แทงหรือตักดินด้วยเหล็กลวดให้เป็นก้อน นำเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องนวดเพื่อให้เนื้อดินเข้ากัน แล้วใช้เหล็กลวดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลวดตัวเก็ง ตักดินที่โม่แล้วให้เป็นก้อนมีขนาดเหมาะพบกับการปั้นงานแต่ละชิ้นนำมานวด โดยผสมทรายละเอียดเล็กน้อยอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้โอ่งมังกรมีเนื้อที่แกร่งและคงทนยิ่งขึ้น

โอ่งราชบุรี

จังหวัดราชบุรีมีสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์น่าสนใจอยู่มากมาย เช่น การทอผ้าซิ่น การผลิตเครื่องทองเหลือง เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้เลยเมื่อกล่าวถึงจังหวัดราชบุรี ก็คือ การปั้นโอ่งมังกร การปั้นโอ่งมังกรและเครื่องปั้นดินเผาของชาวราชบุรี เป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้าน ที่มีชื่อเสียงมาก คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็ชื่นชอบขั้นตอนในการผลิตโอ่งการผลิตโอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรีนี้มีกรรมวิธีการผลิตอยู่ด้วยกัน ๕ ขั้นตอนดังต่อไปนี้๑. การเตรียมดินการเตรียมดิน ดินที่ราชบุรีที่มีชื่อเสียงนั้น อยู่ที่ตำบลหลุมดิน อำเภอเมือง โดยดินที่นำมาใช้ในการปั้นโอ่ง คือ ดินเหนียว เมื่อได้ดินมาแล้ว ในขั้นตอนแรกจะต้อง มีการหมักดินเสียก่อน ประมาณ ๒-๓ วัน เมื่อดินอ่อนตัวดีแล้ว จึงนำดินจากบ่อหมักดินขึ้นมาพักไว้ เพื่อรอเข้าเครื่องนวด จากนั้นจึงนำดินมาเข้าเครื่องนวด โดยต้องมีการผสมทรายละเอียดลงไปด้วยเพื่อไม่ให้ดินที่จะใช้ปั้นโอ่งอ่อนตัวจนเกินไปเครื่องนวดดินจะทำการนวด และคลุกเคล้าดินเหนียวกับทรายเข้าด้วยกัน จนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งดินเหนียวที่ได้ในขั้นตอนนี้ จะมีลักษณะพอเหมาะ ไม่เหลวหรือแข็งจนเกินไปเมื่อดินที่ผสมออกมาจากเครื่องเรียบร้อยแล้ว ช่างจะต้องทำการตัดแบ่งดินเป็นก้อนๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปปั้นเสียก่อน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกกันว่าเหล็กตัด เหล็กตัดจะมีลักษณะเป็นเหล็กเส้นกลม นำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคันเลื่อยฉลุ แต่มีขนาดใหญ่และกว้างกว่า ที่ปลายของเหล็กจะขึงลวดไว้จนตึง ซึ่งเวลาตัดดินจะนำเส้นลวดนี้ไปตัดแบ่งดินจากกองใหญ่ ให้เป็นกองที่มีขนาดเหมาะสมในการปั้นจากนั้นช่างจะนำดินที่ตัดแล้วมาคลึงบนพื้น ซึ่งดินที่คลึงเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีลักษณะคล้ายกับบาตรพระ นอกจากนี้จะมีการโรยทรายละเอียดลงบนพื้นที่คลึงดินด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการคลึงและไม่ทำให้ดินติดพื้น เมื่อช่างคลึงดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำดินที่คลึงแล้วไปพักไว้ เพื่อรอการขึ้นรูปโอ่งต่อไป๒. การขึ้นรูปเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นมากในการขึ้นรูป ก็คือ แป้นหมุน แป้นหมุนเป็นไม้กลมๆ มีแกนตรงกลางหมุนได้รอบตัว มีทั้งแบบหมุนด้วยมือ ใช้เท้าถีบ หรือจะเป็นแบบหมุนด้วยเครื่องจักรไฟฟ้าก็ได้ ในการขึ้นรูป นอกจากช่างปั้นแล้ว จะต้องมีผู้ช่วย ซึ่งก็คือ คนเตรียมดินนั่นเอง คนเตรียมดินจะเป็นผู้ยกดินที่ใช้ขึ้นตัวโอ่งวางบนแป้นหมุน จากนั้นช่างปั้นก็จะเปิดเครื่องจักร เพื่อให้แป้นหมุน ช่างก็จะใช้มือทั้งสองข้างประคองดินให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เมื่อได้ขนาดและรูปร่างของโอ่งตามที่ต้องการแล้ว ก็จะบังคับให้แป้นหยุดหมุน จากนั้นจึงยกโอ่งลงจากแป้นหมุนโดยการใช้เส้นตัดก้นโอ่งที่อยู่ติดกับแป้นหมุนเสียก่อน หากโอ่งมีขนาดเล็ก ช่างปั้นอาจจะยกลงจากแป้นหมุนเอง แต่หากโอ่งมีขนาดใหญ่ ช่างปั้นอาจจะช่วยกับคนเตรียมดินในการยกโอ่งลงจากแป้นหมุนก็ได้ โอ่งที่ยกลงจากแป้นหมุนเรียบร้อยแล้ว จะยังมีความาอ่อนตัวอยู่ ดังนั้นรูปร่างของโอ่งอาจบิดเบี้ยว ทำให้โอ่งเสียรูปทรงได้ ผู้ช่วยช่างปั้นโอ่ง จึงต้องใช้ห่วงไม้สองห่วงมาช่วยบังคับรูปทรงโอ่งไว้ ห่วงไม้ที่ใช้บังคับรูปโอ่งนี้ไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย แต่ในภาษาจีน เรียกว่า "โคว" แปลว่า ห่วงนั่นเอง สำหรับโอ่งที่ปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วนี้ จะมีเฉพาะตัวโอ่งและโอ่งเท่านั้น ยังไม่มีปากโอ่ง เมื่อยกโอ่งลงจากแป้นหมุนแล้ว ก็จะนำโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลาน รอให้โอ่งหมาด เพื่อเตรียมที่จะขึ้นปากโอ่งต่อไป ซึ่งในการขึ้นปากโอ่งจะต้องรอการขึ้นรูปโอ่ง ให้โอ่งมีจำนวนมากพอกับที่ต้องการเสียก่อน จากนั้นจึงนำโอ่งทั้งหมดไปขึ้นปากโอ่งทีเดียวการขึ้นปากโอ่งจะนำตัวโอ่งยกวางลงบนแป้นหมุนอีกครั้งหนึ่ง แต่แป้นหมุนที่ใช้ในการขึ้นปากโอ่งนี้ เป็นแป้นหมุนที่ใช้มือบังคับ และใช้แรงคนหมุน ช่างขึ้นปากโอ่งจะใช้ดินที่คนเตรียมดินทำเป็นเส้นไว้แล้ว มาวางวนรอบคอโอ่ง แล้วใช้มือหมุนหรือใช้เท้าถีบแป้นหมุนก็ได้ มือทั้งสองข้างก็คอยบีบดินให้ติดกันกับคอโอ่ง และคอยแต่งให้เป็นปากโอ่ง พอแต่งปากโอ่งจนเกือบจะได้ท ี่ช่างก็จะใช้ฟองน้ำชุบน้ำพอหมาดๆ ปาดวนไปรอบปากโอ่งอีกครั้งหนึ่ง เป็นการช่วยให้ปากโอ่งเรียบ จากนั้นก็ยกโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลานโอ่งจะมีหลายแบบด้วยกัน การปั้นโอ่งบางประเภทเมื่อติดปากโอ่งเรียบร้อยแล้ว ก็รอเขียนลายได้เลย เช่น โอ่งเจ็ด แต่โอ่งบางประเภทต้องมีการติดหูโอ่งด้วย เช่น โอ่งพม่าหรือโอ่งมอญ เป็นต้น โดยการติดหูโอ่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดปากโอ่ง๓. การเขียนลายก่อนการเขียนลายจะต้องมีการแต่งผิวโอ่งให้เรียบ และแต่งรูปทรงของโอ่งให้ดีเสียก่อน โดยใช้ “ไม้ตี” และ “ฮวยหลุบ” ฮวยหลุบเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยดินเผา มีลักษณะเหมือนลูกประคบ มีลักษณะกลมมน มีที่จับอยู่กลางลูก ใช้เพื่อรักษารูปทรงของโอ่ง เวลาตีโอ่งคนตีจะใช้ฮวยหลุบรองผิวโอ่งด้านใน ส่วนด้านนอกของโอ่งก็ใช้ไม้ตีตีโอ่ง เมื่อแต่งผิวโอ่งจนทั่วทั้งใบแล้ว จึงนำไปเขียนลายต่อไป ช่างเขียนลายส่วนใหญ่มักจะเป็นหญิง อาจะเป็นเพราะต้องอาศัยความใจเย็นและความประณีต ส่วนสิ่งที่จะนำมาใช้ในการเขียนลายโอ่งนั้น เป็นดินเหนียวนำมาผสมกับดินขาวที่ร่อนพิเศษให้มีเนื้อที่ละเอียดมาก จากนั้นนำดินที่ผสมกันนี้มานวดจนนิ่ม ดินนี้เรียกว่า “ดินติดดอก” เมื่อจะเริ่มเขียนลาย ช่างก็จะนำโอ่งที่แต่งผิวเรียบร้อยแล้วมาวางบนแป้นหมุนที่หมุนด้วยมือ แล้วจึงใช้ดินติดดอกปั้นเป็นเส้นเล็กๆ ป้ายติดไปที่โอ่งสามตอนเพื่อแบ่งโอ่งออกเป็นสามช่วง คือ ช่วงปากโอ่ง ตัวโอ่ง และเชิงล่างของโอ่ง เนื่องจากแต่ละช่วงจะติดลายไม่เหมือนกันช่วงปากโอ่งจะนิยมติดลายดอกไม้หรือลายเครือเถา เพื่อความสะดวก รวดเร็วและความเป็นระเบียบสวยงาม ช่วงตัวโอ่งนิยมเขียนเป็นรูปมังกร บางครั้งก็เป็นตัวมังกรแบนๆ แต่บางครั้งส่วนที่เป็นหัวมังกร จะปั้นนูนออกมาทำให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนช่วงเขิงด้านล่างของโอ่ง ช่างจะติดลายแบบเดียวกันกับช่วงปากโอ่ง แต่จะเป็นแบบง่ายๆ นอกจากใช้มือในการวาดลายอย่างชำนาญแล้ว ช่างเขียนลายยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การวาดลายเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผลงานที่ออกมาสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เช่น การใช้แผ่นเหล็กที่ดัดเป็นรูปคลื่นช่วยในการทำลายมังกร การใช้หวีช่วยในการทำครีบมังกร เป็นต้น แต่ในบางครั้งลูกค้าก็สั่งโอ่งแบบที่ไม่มีลวดลาย ซึ่งก็ไม่ต้องเขียนลวดลายลงบนโอ่ง นอกจากจะใช้ดินติดดอกปั้นแต่งแล้ว ยังสามารถเขียนลายโอ่ง โดยใช้พู่กันจีนจุ่มน้ำเคลือบเขียนลายโอ่งได้อีกด้วย การเขียนลายโอ่งแต่ละใบนั้น จะใช้เวลาในการเขียนลายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลายของโอ่งและขนาดของโอ่ง๔. การเคลือบสำหรับน้ำที่ใช้ในการเคลือบโอ่งก็คือ น้ำโคลนผสมกับขี้เถ้า ซึ่งจะใช้เถ้าจากอะไรก็ได้ ในโรงงานทั่วไปมักจะใช้เถ้าที่ได้จากการเผาโอ่งนั่นเอง แต่หากเป็นขี้เถ้าที่ได้จากกระดูกสัตว์ เมื่อนำมาผสมเป็นน้ำเคลือบแล้ว นำไปเผาจะได้โอ่งที่ลวดลายสัสันสดใสกว่าน้ำเคลือบจากขี้เถ้าที่ได้จากพืช แต่ก่อนที่จะนำขี้เถ้าไปผสมกันกับน้ำโคลนจะต้องนำขี้เถ้าไปร่อนจนละเอียดเสียก่อน และเมื่อผสมออกมาเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ได้น้ำเคลือบที่ละเอียดในการเคลือบโอ่ง จะนำโอ่งไปวางหงายในกระทะใบบัว ใช้น้ำเคลือบราดให้ทั่วด้านในโอ่งก่อน จากนั้นยกโอ่งคว่ำลงในกระทะนั้น ตักน้ำเคลือบมาราดรดผิวนอกจนทั่ว จึงยกขึ้นแล้วนำไปวางหงายผึ่งลมไว้ ในกระทะใบบัวจะมีน้ำเคลือบอยู่ ช่างก็จะนำน้ำเคลือบที่เหลืออยู่นี้ผสมรวมกับน้ำเคลือบที่เตรียมไว้ตั้งแต่ต้น แล้วนำโอ่งใบใหม่มาใส่กระทะแล้วก็ทำการเคลือบ ตามวิธีข้างต้นต่อไปเรื่อยๆ แต่การเคลือบโอ่งนี้เราจะเคลือบเฉพาะโอ่งที่ติดลายเท่านั้น โอ่งที่เคลือบแล้วจะทำให้เกิดสีสวยเป็นมัน เมื่อเผาเสร็จออกมา นอกจากนี้น้ำเคลือบยังช่วยสมานรอยแผลและรูระหว่างเนื้อดิน ทำให้น้ำไม่ซึมออกจากโอ่งเมื่อนำไปใช้อีกด้วย เมื่อเคลือบเสร็จแล้วช่างก็จะขนโอ่งทั้งหมดไปที่เตาเผาโอ่ง เพื่อทำการเผาโอ่งต่อไป๔. การเผาเป็นกรรมวิธีขั้นสุดท้ายของการทำโอ่ง เตาเผาฌอ่งจะเป็นเตาที่ก่อด้วยอิฐเป็นรูปยาว เรียกว่า “เตาอุโมงค์” ด้านข้างเตาด้านหนึ่งจะเจาะเป็นช่องประตู เพื่อใช้เป็นทางนำโอ่งหรือภาชนะดินเผาอื่นๆ เข้าไปเผา และเป็นทางขนโอ่ง หรือภาชนะดินเผาอื่นๆ ที่เผาเสร็จแล้วออกจากเตา ส่วนด้านข้างเตาอีกด้านหนึ่งจะก่ออิฐเรียบไปตลอด ด้านบนของเตาจะเจาะรูไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้ใส่ฟืนเป็นเชื้อในการเผา รูที่เจาะไว้นี้เรียกว่า “ตา” หรือ “ตาไฟ” จะมีตาอยู่รอบเตาทั้งสองด้าน เตาหนึ่งๆ นั้นจะมีช่องประตูและตามากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเตา เช่น เตาที่มี ๔ ช่อง ประตูก็จะทำตาไว้รอบเตา ๗๐ ตา ปลายด้านหนึ่งของเตาอุโมงค์จะใช้เป็นเตาสำหรับก่อไฟ ส่วนปลายอีกด้านก็จะเป็นก้นเตา ใช้เป็นปล่องสำหรับระบายควันออกจากเตา เมื่อจะเผาโอ่งนั้น จะต้องเปิดประตู นำโอ่งที่จะเผาเรียงเข้าในเตา เผาให้เต็มจากนั้นปิดประตูด้วยอิฐชนิดเดียวกับที่ใช้ก่อเตา ใส่เชื้อไฟตามตาที่อยู่รอบๆ เตาจนเต็ม แล้วจึงก่อไฟทีปากเตาอากาศร้อนจะวิ่งจากปากเตาไปสู่ก้นเตาซึ่งเย็นกว่า อากาศร้อนก็จะลอยออกไปทางก้นเตา จึงทำให้เกิดแรงดูดขึ้นภายในเตา ความร้อนจากปากเตาก็จะวิ่งเข้ามาในเตา เมื่อพบกับเชื้อที่ใส่เอาไว้ก็เกิดการลุกไหม้ทั่วทั้งเตา การเผานี้จะปล่อยไว้ให้ลุกไหม้ติดต่อกันนาน ๒ วัน เมื่อถึงวันที่สามไม่ต้องเติมเชื้อไฟอีก ไฟก็จะค่อยๆ มอด ปล่อยทิ้งไว้ ๑๐ ถึง ๑๒ ชั่วโมง ความร้อนในเตาก็เกือบหมดไป จึงเปิดช่องประตูเตา นำโอ่งและภาชนะที่เผาออกมา คัดแยกโอ่งและภาชนะที่สมบูรณ์ทุกอย่างไว้ คือ จะมีความมันวาวมีสีน้ำตาลแก่อมเขียวและมีลวดลายสุกปลั่ง จากนั้นจึงนำไปจำหน่ายได้ ส่วนโอ่งและภาชนะที่ชำรุด เช่น มีสีด้านทึบ ลวดลายไม่เด่นชัด จะมีการตรวจสอบสภาพและแยกไว้เป็นระดับ แต่หากโอ่งมีความเสียหายมากต้องนำไปทุบทำลาย แต่อาจนำไปใช้ประโยชน์ คือ ถมที่ได้ เส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองราชบุรีนั้น มีโรงงานปั้นโอ่งมังกรอยู่หลายแห่ง เฉพาะในตัวเมืองราชบุรี ก็มีโรงงาน สถานที่ผลิตและจำหน่ายมากถึงประมาณ ๔๐ แห่งเลยทีเดียว ซึ่งโรงงานผลิตโอ่งที่มีชื่อเสียงและน่าสนใจมีดังต่อไปนี้โรงงานรัตนโกสินทร์ 1 อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโรงานใหญ่มีการผลิตและจัดจำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้านครบวงจร โรงงานราชาเซรามิค ตั้งอยู่ที่ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง

การทำพัด

ภูมิปัญญาไทยใบพ้อ หรือใบกะพ้อ เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นรูปพัด ชาวบ้านในภาคใต้นำใบกะพ้อมาจักสานเป็นพัด เรียกว่า "พัดใบกะพ้อ" หรือ "พัดใบพ้อ" ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมจักสานประเภทหนึ่งที่เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นับเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของภาคใต้ โดยเฉพาะในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ที่ผลิตกันจนมีชื่อเสียงในเรื่องพัดใบพ้อ ก็คือหมู่บ้านโคกยาง ในระยะแรกชาวบ้านร่วมกันจัดหาวัตถุดิบที่มีอยู่มาประดิษฐิ์และหาตลาดจำหน่ายไปตามหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้นำสินค้าไปขายที่กรุงเทพฯ ผลปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมากทำให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้จำนวน มาก ต่อมามีการพัฒนา ฝือมือ รูปแบบ และสีสรร รวมทั้งวัตถุดิบก็ได้พัฒนามาใช้เส้นใยสังเคราะห์มากขึ้น การตลาดก็มีการขยายวงกว้าง มีลูกค้า และพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่
วัสดุ1. ยอดกะพ้อ เลือกยอดอ่อนเป็นกลีบซ้อนหลายชั้น 2.หวายและไม้ไผ่คลาน เป็นส่วนประกอบที่นำมาทำเป็นห่วงหูทรงกลางลายด้ามพัด หวายและใยสังเคราะห์มาผูกด้าม 3.สีย้อม 4.มีด จัดตอก เหล็กแหลมเจาะรู กรรไกร